ความเป็นมาของเครือข่าย C-อพ.สธ. ภาคเหนือตอนล่าง
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เดิม) มีนโยบายจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาทุกภูมิภาค เพื่อสนองพระราชดำริฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษา รวบรวม ส่งเสริมการเรียนรู้ใช้ประโยชน์ และสร้างจิตสำนึกด้านทรัพยากรพืช สัตว์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยได้มีหนังสือ ขอพระราชทานพระราชานุญาตเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ อพ.สธ. ในส่วนของ สกอ. ซึ่งประกอบด้วย ประธานเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9 เครือข่าย โดยภาคเหนือตอนล่าง มีมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นแม่ข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เห็นควรใช้ศักยภาพระบบเครือข่ายเพื่อการพัฒนา เป็นกลไกขับเคลื่อนงานสนองพระราชดำริฯ โดยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งเครือข่ายระดับปฏิบัติการ C (ระดับเครือข่ายเชิงประเด็น – Issue based) ขึ้น ซึ่งมีการดำเนินงานเชื่อมโยงด้วยโครงสร้างเครือข่ายอุดมศึกษาเชิงพื้นที่ 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับเครือข่าย A (ระดับส่วนกลาง – สกอ.) คือ คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน เป็นศูนย์กลางกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และการจัดสรรทรัพยากร-งบประมาณ
2. ระดับเครือข่าย B (ระดับพื้นที่ส่วนภูมิภาค) คือ เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา รวม 9 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับมอบหมายให้เป็นแม่ข่ายของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดนทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานการดำเนินงานโครงการ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของเครือข่ายเชิงประเด็น
3. ระดับเครือข่าย C (ระดับเครือข่ายเชิงประเด็น – Issue based) คือ เครือข่ายระดับปฏิบัติการ ซึ่งคณะกรรมการบริหารเครือข่าย B ต้องแต่งตั้งคณะทำงานเชิงประเด็น อพ.สธ. (เครือข่าย C) เพื่อทำหน้าที่บริหารโครงการ ดำเนินกิจกรรม อพ.สธ. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ รวมทั้งการประเมินผลปฏิบัติงาน (Output & Outcome) เปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการเพื่อให้การขับเคลื่อนเครือข่ายสหสถาบันในท้องถิ่น รวมทั้งเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสถาบัน
สำหรับเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่างมีสถาบันในเครือข่ายทั้งหมด 14 สถาบัน รวมวิทยาลัยชุมชน 3 แห่ง ประกอบด้วย
1. มหาวิทยาลัยนเรศวร (แม่ข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง)
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
4. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
5. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
7. มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
8. มหาวิทยาลัยภาคกลาง
9. มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก
11. วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
12. วิทยาลัยชุมชนตาก
13. วิทยาลัยชุมชนพิจิตร
14. วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.เพื่อสนองพระราชดำริ โครงการอนรุกษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)
2.เพื่อให้เกิดการดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายในการสนองพระราชดำริ
3.เพื่อให้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ อพ.สธ.
ผลลัพธ์ของโครงการ
1.สถาบันอุดมศึกษาได้สนองพระราชดำริ โครงการอนรุกษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)
2.เกิดการดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายในการสนองพระราชดำริ
3.บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคเหนือตอนล่างมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ อพ.สธ. มากขึ้น